การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน DOAE๕๘ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม

1.เรื่อง การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน 
2.ชื่อ เกษตรกรเจ้าขององค์ความรู้  นายบัญชา  ฉานุ 
วันเดือน ปี เกิด            วันที่ 14  กรกฎาคม 2512   อายุ  44  ปี 
ที่อยู่             บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ ตำบลบ้านซ่อง  อำเภอพนมสารคาม  จังหวัดฉะเชิงเทรา 
โทรศัพท์        บ้าน038-557064  โทรศัพท์มือถือ 080-6228681 
3.ความเป็นมา  
ถือกำเนิดจากครอบครัวที่ประกอบอาชีพ"การเลี้ยงสุกร” หลังเรียนจบปริญญาตรีที่แม่โจ้ สาขาสัตวศาสตร์ เมื่อปี 2534-2538 ได้ทำงานเพื่อหาประสบการณ์ โดยทำงานในตำแหน่งสัตวบาลประจำฟาร์มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ และตำแหน่งพนักงานขายเวชภัณฑ์บริษัทเจริญโภคภัณฑ์  ปี 2542 – 2545 ได้ออกมาประกอบอาชีพค้าไม้เก่า จากเงินที่เก็บสะสมไว้  จากการค้าขายนี้ทำให้กระผมมีประสบการณ์ด้านการวางแผนการใช้เงิน  การวางแผนการตลาด  หลักการต่อรองสินค้า และการวิเคราะห์การณ์ข้างหน้า 
ปี 2546 ได้กลับมาประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกร ตามรอยและสานต่องานของพ่อ-แม่และด้วยความมุ่งมั่นที่จะ "กลับมาพัฒนาบ้านเกิด”และด้วยเงินที่เก็บสะสมไว้ในปี 2547จึงได้เลี้ยงสุกรเอง จำนวน 1 เล้า 1,000 ตัว
ในปีนี้ เมื่อกิจการสุกร ไปได้ดี จึงคิดถึงความมุ่งมั่นเดิมที่จะ "กลับมาพัฒนาบ้านเกิด” จึงหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยเข้าไปสมัครเป็นสมาชิก "กลุ่มผู้ปลูกผักบ้านหนองหว้า” ที่ใช้พื้นที่ของธนาคาร ในการปลูกผักรวมกัน โดยมีเกษตรตำบลเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ทำให้มีประสบการณ์การปลูกผัก  แนวทางการรวมกันปลูก รวมการขาย แนวทางการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการผลิต การหาแนวทางแก้ไข กระบวนการวางแผน การหาแนวร่วมหรือเครือข่าย และการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งในปีนี้ ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ.2548 กิจการการปลูกผักโดยใช้ระบบ GAP ไปได้ดี ตามความต้องการของพ่อค้า 
กลางปี พ.ศ.2548 เกิดจุดพลิกผันทำให้ต้องเรียนรู้ และประกอบอาชีพ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพใหม่ และท้าทาย ที่สำคัญต้องนำพาเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเดิมของกลุ่มผักฯ และเกษตรกรรายใหม่ที่มีความเชื่อถือในฐานะผู้นำ ผ่านไปให้ได้ เพราะมันมีความหมายไม่เฉพาะต่อสมาชิกเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง คนในครอบครัวของพวกเขาด้วย 
จนในที่สุดสามารถดำเนินการจนมีจำนวนโรงเรือนของตนเองสูงสุด ถึง 18 โรงเรือน มีรายได้ต่อโรงเรือน ต่อปี   จำนวน 180,000  บาทต่อปีรวมรายได้ทั้งสิ้น 3,240,000 บาทต่อปีมีเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และเครือข่าย ทั้งในชุมชนต่างชุมชน ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด จำนวน 225 ราย จำนวน 655 โรงเรือน  และมีผลผลิตที่จำหน่ายในกลุ่มฯ วันละประมาณ 1,500 กก. มูลค่า ประมาณ 90,000 บาท/วัน 
ปัจจุบัน ได้พัฒนาโรงเรือนใหม่ จากเดิมโรงเรือนปกติหลังคามุงจากล้อมด้วยพลาสติกสานสีไข่ไก่ เป็นโรงเรือนระบบปิด โครงโรงเรือนใช้เหล็ก หลังคาและด้านค้างใช้เมทัลชีท สามเหตุที่เปลี่ยนเนื่องจาก โรงเรือนระบบเดิมมีอายุการใช้งานประมาณเพียง 4-5 ปี แต่ระบบใหม่จะมีอายุการใช้งานได้นาน ทำความสะอาดง่าย ควบคุณอุณภูมิและความชื้นได้ 
ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำสวนระดับประเทศ ปี 2556 ได้รับพระราชทานโล่รางวัลในวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดและผักปลอดสารพิษบ้านหนองหว้า  และได้รับคัดเลือกให้เป็น Smart Farmerต้นแบบ  ด้านการเพาะเห็ดฟางโรงเรือน 
4.องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ และงานที่ภาคภูมิใจ 
1) ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางโรงเรือน


ขั้นตอน

วิธีการดำเนินงาน

วันที่ 1

ขึ้นกากมัน หนา 1 ฝ่ามือเกลี่ยให้เรียบ ตบให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม คลุกเคล้าส่วนผสม(รำละเอียด,มูลวัว, ยูเรีย 15-15-15,ปูนขาว,ยิบซั่ม,อาหารหมักมูลวัว)แล้วหว่านบนกากมัน แล้วปิดโรงเรือนไว้ 3 วัน

วันที่ 4

รดน้ำบนกองวัสดุทุกชั้น แล้วอบไอน้ำด้วยเตาสตรีมหนองหว้า อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนาน 3 ชั่วโมง

วันที่ 5

ขยี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง 6 ก้อนผสมกับแป้งข้าวเหนียว 0.5 กก. อาหารเสริม 0.5 กก. โรยบนชั้นที่โรงเรือน ได้ 1 ชั้น จนครบ 8 ชั้น ปิดโรงเรือนให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 วัน

วันที่ 9          

ตัดใยเห็ดการรดด้วยน้ำเปล่าให้ชุ่มเปิดช่องระบายอากาศ รักษาอุณภูมิให้อยู่ที่ 28-32 องศาเซลเซียส หมั่นตรวจความชื้นบนชั้นอย่าให้แห้ง

วันที่ 12-13

จะสังเกตเห็นดอกเห็ดเล็กๆระยะนี้เรียกว่า

 
สงวนลิขสิทธิ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | เสนอแนะ-ติชม webmaster@moac.go.th | Call Center 1170