น้ำส้มควันไม้เพื่อการเกษตร หมู่ 6 ต.โนนสวาง อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี

น้ำส้มควันไม้เพื่อการเกษตร

โดย กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านคำแม่มุ่ย หมู่ที่ 6 ต.โนนสวาง อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี

              นายอภิชน   กางกั้น  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ


          น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวสีน้ำตาลใสมีกลิ่นควันไฟ ได้มาจากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน ในช่วงที่อุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300-400 องศาเซลเซียส สารประกอบต่าง ๆ ในไม้ฟืนจะถูกสลายตัวด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบใหม่มากมาย แต่ถ้าเก็บควันในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 300 องศาเซลเซียส จะมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์น้อยมากไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และถ้าเก็บควันในช่วงอุณหภูมิเกิน 425 องศาเซลเซียส น้ำมันดินจะสลายตัวเป็นสารก่อมะเร็ง สารดังกล่าวจะสามารถกำจัดออกไปได้ง่ายเมื่อนำมากลั่นซ้ำที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส น้ำส้มควันไม้ที่ได้ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้น ควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันอุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน (ทาร์ : Tar) และสารระเหยง่าย (โวลาไทล์ : Volatile matter) ปนออกมาด้วยน้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืช ซึ่งจะทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้
การทำให้น้ำส้มควันไม้บริสุทธิ์  สามารถทำได้ 3 วิธี
          1. ปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำส้มควันไม้มาเก็บไว้ในถังทรงสูงที่มีความสูงมากกว่าความกว้างของฐานประมาณ 3 เท่า โดยทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 90 วัน น้ำส้มควันไม้จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นของเหลวใสสีชา คือน้ำส้มควันไม้ และชั้นล่างสุดจะเป็นของเหลวสีดำข้น คือ น้ำมันดิน หากนำผงถ่านมาผสม 5 % โดยน้ำหนัก ผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใส และน้ำมันดินที่แขวนลอยอยู่ให้ตกตะกอนสู่ชั้นล่างสุดในเวลาที่เร็วขึ้น เพียงประมาณ 45 วันเท่านั้น

ถังเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีวาล์วก๊อกน้ำอยู่ 3 วาล์ว
* วาล์วที่อยู่ระดับบนสุดของระดับน้ำส้มควันไม้ที่บรรจุอยู่ในถังมีไว้สำหรับแยกน้ำมันที่ลอยอยู่ข้างบนของน้ำส้มควันไม้
* วาล์วที่อยู่ระดับกลางมีไว้สำหรับเก็บน้ำส้มควันไม้ มีไว้สำหรับเปิดเอาน้ำส้มควันไม้ที่น้ำมันดินแยกออกมาแล้ว เอาไว้ใช้งาน
* วาล์วที่อยู่ก้นถังระดับล่างสุดมีไว้สำหรับถ่ายน้ำมันดิน (ทาร์) ที่ตกตะกอนออก

หลังจากตกตะกอนจนครบกำหนดแล้ว นำน้ำส้มควันไม้มากรองอีกครั้งด้วยผ้ากรองแล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
          2. การกรอง โดยใช้ผ้ากรองหรือถังกรองที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ ซึ่งจะได้คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เพราะถ่านกัมมันต์จะลดความเป็นกรดของน้ำส้มควันไม้ และจะใช้วิธีนี้เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
          3. การกลั่น โดยกลั่นได้ทั้งในความดันบรรยากาศ และกลั่นแบบลดความดันรวมทั้งกลั่นแบบลำดับส่วนเพื่อแยกเฉพาะสารหนึ่งสารใดในน้ำส้มควันไม้มาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา

คุณสมบัติน้ำส้มควันไม้
          น้ำส้มควันไม้แตกต่างจากน้ำส้มสายชู หรือน้ำส้มอื่น ๆ ที่ได้จากการหมัก หรือสังเคราะห์อื่น ๆ คือมีสารประกอบหลากหลายกว่า โดยเฉพาะฟีนอล (PHENOL) ซึ่งได้จากการสลายตัวของลิกนิน (LIGNIN) น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากไม้ต่างชนิดก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย เช่น น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากไม้ยูคาลิปตัส จะมีความเป็นกรดต่ำและมีสีใสแต่มีเมธานอล (METHANOL) สูงกว่า ไม้กระถินยักษ์หรือไม้สะเดา น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่าง ๆ มากกว่า

200 ชนิด ซึ่งได้จากกรสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบใหม่หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์และแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ ได้จากการสลายตัวของเฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลส ส่วนฟีนอลได้จากการสลายตัวของลิกนิน
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบที่สำคัญได้แก่น้ำ ประมาณ 85% &

 
สงวนลิขสิทธิ์ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | เสนอแนะ-ติชม webmaster@moac.go.th | Call Center 1170